ความรู้งานสกรีนเสื้อ

การสกรีนรูปแบบต่างๆ ของร้านชลบุรีสกรีนเสื้อ

1. การสกรีนเสื้อแบบ DTG (Direct To Garment) เป็นการสกรีน หรือ พิมพ์ลวดลายลงเนื้อผ้าโดยตรง โดยการใช้เครื่องปริ้นเตอร์ (คล้ายๆเครื่องพิมพ์กระดาษทั่วแต่เป็นการออกแบบเครื่อง Print ให้ใส่เสื้อเข้าไปแทนกระดาษ) สกรีนลงบนเนื้อผ้า หรือ เสื้อ และใช้เครื่องกดความร้อน กดลงบนเนื้อผ้าอีกครั้งนึง เพื่อให้สีคงทนถาวรบนเนื้อผ้า โดยเนื้องานและสีที่ออกมา จะได้คุณภาพงานสรีนความละเอียดสูงมาก อีกทั้งยังสามารถสกรีนลงผ้า cotton 100% ได้อีกด้วย

VDO ตัวอย่างการสกรีนด้วยระบบ DTG


ตัวอย่างงานสกรีน DTG
ตัวอย่างงานสกรีน DTG

2. การสกรีนแบบบล๊อกสียาง (ซิลค์สกรีน)
การสกรีนเสื้อ แบบบล็อกสกรีน เป็นระบบในการพิมพ์โดยต้องใช้บล็อกสกรีน 1 สี ต่อ 1 บล็อก ถ้าแบบที่ต้างการสกรีนมี 5 สี ก็ต้องใช้ 5 บล็อก ซึ่งเหมาะกับการพิมพ์เสื้อ สกรีนเสื้อจำนวนมาก หรือ สกรีนข้อความที่ใช้จำนวนสีน้อย
งานสกรีนบล๊อคสียาง
ตัวอย่าง งานสกรีนบล๊อคสียาง


3. การสกรีนแบบซับลิเมชั่น (ซับลิเมชั่น) เป็นปริ้นท์หมึกลงการะดาษซับลิเมชั่น แล้วนำไปรีดร้อนลงเสื้อ

ข้อดีของการสกรีนซับลิเมชั่น
1. ความคงทนของสีเหมือนการย้อมสีเสื้อ
เมื่อรีดร้อนเพื่อทำให้หมึกซับลิเมชั่นระเหิดลงไปติดบนเนื้อวัสดุแล้ว หมึกซับลิเมชั่นจะแทรกซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อวัสดุโดยตรง ซึ่งวิธีนี้หมึกซับลิเมชั่นจะยึดติดและอยู่คงทน เช่นไม่ว่าเราจะซัก รีด สักกี่ครั้ง สีจะยังคงติดทนอยู่ที่เสื้อ และเมื่อเราเอามือสัมผัสผ่านลายที่พิมพ์ เราจะไม่รุ้สึกถึงลายที่พิมพ์เลย เพราะตัวหมึกเองได้ซึมเข้าไปติดในเนื้อผ้าแล้ว โดยทั่วสีจะติดคงทนนานกว่า อายุการใช้งานของเนื้อผ้าอีก

2. ใช้กับวัสดุที่หลากหลาย
ในการทำซับลิเมชั่น สามารถทำได้กับวัสดุหลากหลายประเภท ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เสื้อผ้า หนัง หรือ PVC เท่านั้น ในการทำซับลิเมชั่นเรายังสามารถสกรีนลงได้แม้กระทั่ง แก้ว เคสโทรศัพท์ กระเป๋า หมวก อะคิลิค และ อื่นๆอีกมากมาย

3. ความคมชัดและรายละเอียดของภาพ
เนื่องจากการสกรีนซับลิเมชั่น คือการออกแบบผ่านคอมพิวเตอร์และพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ข้อดีของการออกแบบผ่านคอมพิวเตอร์ คือเราสามารถออกแบบ ตกแต่งรายละเอียดภาพให้มีมิติ และรายละเอียดอย่างชัดเจนตามแบบลูกค้าต้องการ และง่าย สะดวกต่อลูกค้าในการส่งภาพถ่ายหรือแบบอาร์ตมาทำได้เลย

ข้อเสียของการสกรีนซับลิเมชั่น
1. ไม่สามารถสกรีนลงบนผ้า cotton 100 % ได้
ในการทำงานของระซับลิเมชั่น หมึกระเหิดจะไปจับตัวกับเนื้อวัสดุที่เป็นโพลีเอสเตอร์ เพื่อให้สีสามารถติดได้ แต่ถ้าเป็นเนื้อผ้าคอตตอนทำให้หมึกไม่สามารถไปจับและเกาะอยู่บนเนื้อผ้าได้
2. ไม่สามารถพิมพ์ลงบนผ้าสีเข้มได้
ในการทำงานของระบบซับลิเมชั่น หมึกซับลิเมชั่นจะไปจบตัวที่เนื้อผ้าเพื่อให้ออกสี แต่ถ้าพื้นผ้ามีสีเข้ม ทำให้สีที่ออกนั้น โดนพื้นของสีผ้า ทำให้สีที่ออกมาจะแตกต่างกับที่ออกแบบไว้ เปรียบเสมือนกับการทำสีขาว ไปทาลงบนกระดาษสีดำ สีที่ออกมาจะไม่ใช่สีขาวอย่างที่เราตั้งใจ แต่สีอาจจะออกมาเป็นสีขาวเทาๆ
ตัวอย่างงานสกรีนซับลิเมชั่น
ตัวอย่างงานสกรีนซับลิเมชั่น

4. การสกรีนด้วย โพลีเฟล็กซ์ 
คือ   เทคนิคงานทรานเฟอร์อีกประเภทที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองของความต้องการเร่งด่วนของยุคปัจจุบัน  งานโพลีเฟล็กซ์ไม่จำเป็นต้องทำบล็อก ขอเพียงมีต้นทุน และเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้นั้น ค่อนข้างมีราคาสูง กว่าการสกรีนบล็อคสกรีนอยู่พอสมควร
 โพลีเฟล็กซ์  คือ   แผ่นยางรีดหรือ PVC มีองค์ประกอบเดียวกันกับพลาสติกซึ่งเมื่อถูกความร้อนสูง  จะหลอมละลาย และเมื่อนำไปอยู่ภายใต้ภาวะแรงกดที่เหมาะสมบนเนื้อผ้าเนื้อยางบางที่เป็นผิวที่สัมผัสอยู่กับเส้นใยผ้าก็จะหลอมละลายยึดติดไปบนเส้นใยผ้า ส่วนผิวสัมผัสด้านตรงข้ามซึ่งถูกแรงกดจะเป็นผิวเรียบเนียนไปกับเนื้อผ้า
โพลีเฟล็กซ์
ตัวอย่าง งานสกรีนโพลีเฟล็กซ์ 

ส่วนวิธีการนำมาใช้งานและเป็นที่นิยมคือใช้ตัดด้วยคัตเตอร์ หรือเครื่องตัดสติกเกอร์(ไดคัท) เป็นตัวอักษรหรือตามรูปแบบ ซึ่งการสกรีนแบบทรานเฟอร์ด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับการงานสกรีนตัวอักษรลงบนเสื้อ หรือลายกราฟิกที่มีขนาดใหญ่ ๆ ไม่ยากเกินไปสำหรับการไดคัท ซึ่งก็แตกต่างกับประเภทงานแบบการสกรีนภาพลงเสื้อด้วยเครื่องพิมพ์แล้วนำไปกดหรือทรานเฟอร์ด้วยความร้อน ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับงานภาพถ่ายหรืองานกราฟิกไม่จำกัดสีมากกว่า  ลักษณะผิวสัมผัสที่ได้จะขึ้นกับความหนา-บางของแผ่นยางรีด หากใช้ยางรีดที่หนาผิวสัมผัสก็จะนูนมีน้ำหนักไม่เรียบเนียนไปกับผิวของเสื้อผ้า ในเรื่องการทนต่อการซักล้างถือว่าอยู่ในระดับดีมาก

ข้อจำกัด ของงานสกรีนโพลีเฟล็กซ์  จะมีสีสัน ที่ตายตัว  จะสามารถพิมพ์ได้เป็นสีแบบ solid color ตามสีของโพลีเฟล็กซ์ที่มี และไม่เหมาะกับงานที่มีลวดลายละเอียด หรือมีลวดลายซับซ้อน เนื่องจากความยุ่งยากในขั้นตอนการทำไดคัท และการสกรีน






ติอต่อร้านรับสกรีนชลบุรี

ติอต่อร้านรับสกรีนชลบุรี